วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554
หัวเราะวันละนิด จิตแจ่มใส
ว่ากันว่าเสียงหัวเราะนั้น คือ การสื่อสารขั้นพื้นฐานแบบแรกของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ไม่ว่าคนหรือสัตว์ต่างรู้จักหัวเราะโดยไม่ต้องมีใครสอน แต่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม การหัวเราะนั้นมีหลายแบบ หัวเราะแบบจริงใจ หัวเราะแบบไม่รู้ตัว หัวเราะแบบกลั้น
ไม่อยู่ หรือจะแสร้งหัวเราะ
มีคนบอกไว้ว่า หัวเราะวันละนิดจิตแจ่มใส แต่ถ้าหากเป็นการหัวเราะที่ไม่ได้เกิดจากอาการขำขันจริงๆ จังๆ แต่เป็นการตอบสนองทางสังคมล่ะ จิตใจจะแจ่มใสหรือไม่ คุณหมอ Robert Provine นักประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยประจำรัฐแมรี่แลนด์ วิทยาเขตบัลติมอร์ ผู้ศึกษาเรื่องการหัวเราะมานานหลายสิบปีชี้ว่า มีเพียง 10-15% ของการหัวเราะเท่านั้นที่เป็นผลมาจากการได้ยินหรือเห็นเรื่องตลก ส่วนที่เหลือนั้นคือการตอบสนองทางสังคม ดังจะเห็นได้จากคนเราจะไม่ค่อยหัวเราะมากนัก เมื่ออยู่คนเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ การหัวเราะจะมีรสชาติต้องมีคนอื่นร่วมหัวเราะด้วยนั่นเอง
ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งของผู้เขียนหนังสือชื่อ "การสืบสวนทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการหัวเราะ" นี้ก็คือ ทุกชาติทุกภาษามักจะออกเสียงหัวเราะว่า 5-5-5 ทั้งนั้น ไม่ว่าจะฝรั่ง จีน แขก ไทย เรียกว่าเป็นรูปแบบสากล ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากการที่สมองมนุษย์สั่งงานโดยอัตโนมัติ คุณหมอ Provine อธิบายต่อว่า คนหูหนวกหัวเราะได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ยิน คนคุยโทรศัพท์หัวเราะได้ทั้งๆ ที่ไม่เห็นอีกฝ่ายหนึ่ง จึงอาจสรุปได้ว่า การหัวเราะไม่จำเป็นต้องใช้ประสาทสัมผัสชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นการโต้ตอบทางสังคม
นักวิจัยเชื่อว่า เมื่อมนุษย์เราหัวเราะคงจะได้ผลอย่างเดียวกัน และผลการวิจัยครั้งนี้อาจช่วยให้แพทย์สามารถนำสารเคมีดังกล่าว ไปใช้พัฒนายารักษาโรคซึมเศร้าได้ต่อไปในอนาคต แต่ถึงแม้แพทย์จะคิดค้นยาที่ว่านี้ไม่ได้ ลำพังแค่เสียงหัวเราะก็ว่ากันว่าเป็นยาวิเศษที่สุดแล้ว ที่สำคัญก็คือหากมีสักครั้งที่เรารู้สึกดีจนหัวเราะออกมาดังดังอย่างจริงใจ อย่างที่ออกมาจากข้างใน นั่นก็คงจะเพียงพอแล้ว.
ที่มา: http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?t=23935&sid=b74b9ce75053296ec3d2ad6f1aa4d823
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น